โพลียูเรีย

5215 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โพลียูเรีย

โพลียูเรีย

เคลือบโพลียูเรียทนเคมีสูง (Polyurea High Chemical Resistance) คือ การเคลือบวัสดุด้วยสาร Polyurea เพื่อป้องกันการกัดกร่อนจากสารเคมี เป็นการป้องกัน กรด-ด่าง สารเคมีไม่ให้ทำลายคอนกรีตหรือผิวเหล็ก ที่มักพบได้ในผิวคอนกรีต สามารถเคลือบบ่อบำบัดน้ำเสียและพื้นบริเวณรอบ ๆ โดยสามารถเคลือบได้ทั้งบ่อเก่าและบ่อใหม่ และยังสามารถเคลือบวัสดุได้อย่างหลากหลาย Polyurea เป็นสารเคลือบพื้นผิวที่มีความโดดเด่นและเป็นเทคโนโลยีเคลือบวัสดุกันรั่วซึม polyureaจะการเคลือบโพลียูเรียถูกนำมาใช้สำหรับการป้องกันการกัดกร่อนและทนต่อรอยขีดข่วน มีความยืดหยุ่นตัวสูงและลักษณะความทนทานโพลียูเรียสามารถขึ้นรูปโดยการฉีดพ่นเป็น Polyurea (โพลียูเรีย) ที่แห้งตัวด้วยระบบที่เรียกว่า Auto cure จึงแห้งตัวได้ในสภาวะอุณหภูมิติดลบ -30 องศาเซลเซียส และไม่มี Catalyst เป็นส่วนประกอบในการเร่งปฏิกิริยาการเซทตัวของวัสดุ หากนำไปทำพื้นกันซึมดาดฟ้าสามารถแช่น้ำขังได้และมีอายุการใช้งาน 10 - 30 ปี จึงนิยมนำ Polyurea มาใช้ในการทำงาน Internal Tank เช่น เคลือบในบ่อบำบัดน้ำเสีย, เคลือบในแท็งก์น้ำดื่ม เคลือบเป็น Tank Deminization Water และมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อแรงอัดจึงนิยมนำไปใช้ในกำแพงกันระเบิด งานเคลือบป้องกันผิวคอนกรีตและเหล็กจากสนิม ป้องกันการกัดกร่อน สึกกร่อนจากภาวะน้ำทะเลเป็นต้น

                           

คุณสมบัติ

  • วัสดุกันซึม Polyurea บริสุทธิ์ 100 %
  • ติดตั้งโดยเครื่องพ่น แห้งตัวภานใน 1 นาที
  • ป้องกันการกัดกร่อนได้อย่างดีเยี่ยม
  • ทนต่อการกระแทกและการกัดกร่อนได้สูง
  • มีความยืดหยุ่นและคืนสภาพได้ดี จะไม่มีรอยแตกร้าวหรือรอยแตกลายงา
  • อุณหภูมิความร้อนคงที่ มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้อย
  • มีความสามารถในการยืดตัวสูง
  • ไม่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาไม่ไวต่อน้ำและอุณหภูมิ.
  • มีความทนทานและความต้านทานรังสียูวี
  • ทาง่ายและปรับสีได้ง่ายและไม่มีข้อ จำกัด ในการควบคุมความหนา
  • ทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 177 ° C (350 ° F)
  • การยืดตัวสูงสำหรับการเชื่อมรอยแตก
  • แรงยึดเกาะที่ดีเยี่ยม

                          

พื้นที่การใช้งานโพลียูเรีย

  • หลังคา
  • สระว่ายน้ำ
  • ลานจอดรถ
  • ดาดฟ้าอาคาร
  • บ่อบำบัดน้ำเสีย
  • บ่อเก็บน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค
  • ท่อสำหรับส่งสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม
  • พื้นผิวคอนกรีตที่ต้องการกันซึมและป้องกันสารเคมี

 

 

Powered by MakeWebEasy.com